บทความ

พฤติกรรมที่แตกแต่างระหว่างแกะกับแพะและการทำนายอายุแกะ

รูปภาพ
พฤติกรรมที่แตกต่างระหว่างแพะกับแกะ 1. แพะฉลาดกว่าแกะ แพะสู้ศัตรู แต่แกะขี้ขลาด และมักอยู่รวมกันเป็นฝูง 2. แพะ ปีน กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง ขุดดินมุดรั้วได้ แต่แกะทำไม่ได้ 3. แพะอยู่ในพื้นที่อากาศชุ่มชื้น ร้อนได้ดีกว่าแกะ 4. แพะปีนกินใบไม้ เปลือกไม้ได้ แต่กินต้องกินอาหารตามพื้นที่โล่งอย่างทุ่งหญ้าเท่านั้น 5. พ่อพันธุ์แพะจะดึงดูดความสนใจจากตัวเมีย โดยการปัสสาวะราดที่ขาหน้า ท้อง อก และเครา แต่แกะมีกลิ่นตัวฉุนแรงขึ้นในระยะผสมพันธุ์ การทำนายอายุจากการดูฟันหน้าล่างของแกะ กรณีที่แกะที่เราซื้อมาเลี้ยงไม่มีประวัติต่าง ๆ ให้เราตรวจสอบใด ๆ สามารถดูได้จากฟันหน้าด้านล่างของแกะ ซึ่งจะมี 8 ซี่(4 คู่) – ฟันน้ำนมอายุน้อยกว่า 1 ปี     ฟันแท้ 1 คู่ อายุ 1-2 ปี – ฟันแท้ 2 คู่ อายุ 2-3 ปี           ฟันแท้ 3 คู่ อายุ 3-4 ปี – ฟันแท้ 4 คู่ อายุ 4-5 ปี           ฟันแท้เริ่มสึก อายุมากกว่า 5 ปี ที่มา: http://www.animals-farm.com

การคัดเลือกแกะและหลักการผสมพันธุ์แกะ

การคัดเลือกแกะที่มีลักษณะดีไว้ทำพันธุ์ – พ่อพันธุ์ คือ หลังเป็นเส้นตรง หน้าอกลึกกว้าง ส้นเท้าสูง อัณฑะปกติ ขาตรงแข็งแรง – แม่พันธุ์ คือ หลังเป็นเส้นตรง เต้านมเท่ากัน ขาตรงแข็งแรง การคัดลักษณะที่ไม่ดีออกจากฝูง – ขากรรไกรบนล่างไม่สม่ำเสมอ – ตาบอด – ขาโค้งงอ – ปลายเขาโค้งแทงคอ – อัณฑะใบเดียว – ส้นเท้าไม่สูง – เต้านมแฟบ หลักการผสมพันธุ์แกะ 1. ห้ามนำพ่อแม่มาผสมกับลูกของมันเอง 2. ห้ามนำลูกที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกันมาผสมกันเอง 3. พ่อแม่พันธุ์คัดเลือกจากแกะที่มีความสมบูรณ์พันธุ์ มีการเจริญเติบโตดี มีประวัติการให้ลูกแฝดสูง 4. การจัดการด้านอาหารแกะ ที่มา: http://www.animals-farm.com

การเตรียมตัวแม่พันธุ์ก่อนคลอดลูกและสาเหตุที่ทำให้เกิดการคลอดลูกยาก

รูปภาพ
การเตรียมตัวก่อนแม่พันธุ์คลอดลูกแกะ 1. เตรียมที่ตัดสายสะดือ และทิงเจอร์ไอโอดีนสำหรับทาแผล 2. เตรียมพื้นคอกที่สะอาด ไม่ชื้นแฉะ 3. พื้นคอกต้องมีระแนงไม่ห่างเกิน 1.3 ซม. 4. ควรมีฟางแห้งรองพื้น เพื่อเพิ่มความอบอุ่นในช่วงอากาศหนาว ตอนกลางคืนและมีไฟกกลูกแกะด้วย 5. เตรียมตัวสำหรับท่าคลอดลูกที่ปกติ คือ ถ้าการคลอดปกติลูกจะเอาเท้าหน้าทั้ง 2 ข้างออก หรือเท้าหลังทั้ง 2 ข้างออก 6. ท่าคลอดลูกที่ผิดปกติ เอาเท้าออกข้างเดียวอีกข้างพับอยู่ด้านใน อาจทำให้มีปัญหาการคลอดยาก รกควรออกมาภายใน 4-12 ชั่วโมง และลูกควรออกจากท้องแม่ภายในเวลา 5-15 นาที หรือภายใน 1 ชั่วโมง หลังคลอดแล้วควรเช็ดตัวลูกแกะให้แห้ง แล้วจึงตัดสายสะดือและทาทิงเจอร์ไอโอดีนเพื่อฆ่าเชื้อ สาเหตุที่ทำให้แกะเกิดการคลอดลูกยาก – แม่ไม่สมบูรณ์ อ่อนแอ – แม่มีกระดูกเชิงกรานแคบเกินไป – ลูกตัวใหญ่เกินไป – ลูกตายในท้องแม่ – คลอดท่าผิดปกติ ที่มา: http://www.animals-farm.com

การจัดการเลี้ยงดูแกะ

รูปภาพ
การจัดการเลี้ยงดูแกะ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นช่วง ๆ ดังนี้ – ช่วงวัยเจริญพันธุ์(ระยะการเป็นสัด) 1. แกะเริ่มเข้าสู่ช่วงเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3-4 เดือน ตัวเมียจะยอมให้ตัวผู้ทับแต่ควรแยกเลี้ยงไว้ก่อนและทำการผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ 8 เดือน จะได้ความสมบูรณ์มากกว่า – ลักษณะการเป็นสัดของแม่แกะ 1. อวัยวะเพศบวมแดง อุ่นและชุ่มชื้น 2. ไม่อยากอาหาร กระวนกระวาย ไม่เป็นสุข 3. ยืนนิ่งเงียบเมื่อมีตัวผู้เข้ามายืนใกล้ ๆ 4. กระดิกหางบ่อยขึ้นกว่าเดิม – ช่วงการผสมพันธุ์ 1. เมื่อถึงช่วงการเป็นสัดแล้ว ระยะเวลาที่เหมาะสมให้ตัวผู้ขึ้นทับคือ 12-18 ชั่วโมง หลังจากมีอาการเป็นสัด – อัตราการผสมพันธุ์ 1. พ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 10-15 ตัว 2. พ่ออายุ 2 ปีขึ้นไป 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 20-30 ตัว ข้อแนะนำคือ 1. ไม่ควรนำพ่อผสมกับลูกตัวเมีย หรือลูกตัวผู้ผสมกับแม่ เพราะจะทำให้ลูกที่เกิดส่วนใหญ่ตัวเล็ก ไม่สมบูรณ์หรือพิการได้ 2. ควรคัดแม่ที่ผสมไม่ติดจำนวน 2 ครั้งออกไป 3. ควรแยกเลี้ยงแม่ท้องแก่ และแม่เลี้ยงลูกไว้ในคอกต่างหาก เพื่อกันอันตรายจากตัวอื่น 4. ควรสับเปลี่ยนพ่อพันธุ์ตัวใหม่ ๆ ทุก 12 เดือน (และหรือยืมระห

โรงเรือนเลี้ยงแกะและนิสัยการกินอาหารของแกะ

รูปภาพ
โรงเรือนเลี้ยงแกะ ควรทำคอกให้มีหลังคากันแดดฝน ยกพื้นสูง เพื่อง่ายต่อการทำความสะอาด มีที่ใส่น้ำและรางอาหารเพียงพอสำหรับจำนวนแกะทั้งหมด มีคอกแยกสำหรับ แกะโตแกะเล็ก แม่แกะอุ้มท้อง แม่แกะเลี้ยงลูก พื้นคอก ทำเป็นไม้ระแนงมีความห่างราว 1.5 ซม. แกะเล็ก 1.3 ซม. เพื่อให้มูลและปัสสาวะตกลงไปด้านล่างได้สะดวก ไม่สะสมเชื้อโรคและก่อให้เกิดโรคพยาธิ รูปแบบการทำความสะอาดพื้นคอก พื้นดินเทปูนลาดเอียง ทำความสะอาดง่าย หรือใช้แผ่นพลาสติกรองรับ ลงถังปัสสาวะเพิ่มปุ๋ยยูเรีย การทำความสะอาดโรงเรือนเลี้ยงแกะ – ใต้พื้นคอกตักมูลไปขาย หรือทำปุ๋ย – กวาดมูลและเศษหญ้า เพื่อให้พื้นคอกแห้งและสะอาด – รั้วกั้นแปลงหญ้าอาจจะทำจากวัสดุเหลือใช้ เช่น ไม้รวก หรืออวนจับปลา ซึ่งมีราคาถูก อุปกรณ์ ควรมีมีดหรืออุปกรณ์ตัดแต่งกีบ เพื่อใช้ตัดแต่งกีบเดือนละครั้ง ช่วยป้องกันโรคกีบเน่า ช่วยเขี่ยสิ่งสกปรกตามซอกออก หรือตัดส่วนที่งอกหรือเกินออกไป นิสัยการกินอาหารของแกะ แกะสามารถกินหญ้าได้หลายชนิด และควรปล่อยแกะแทะเล็มหญ้าที่มีความสูงประมาณ 4.8 นิ้ว แกะสามารถเลี้ยงในสวนยางและสวนผลไม้เพื่อช่วยกำจัดวัชพืช หรือช่วยกินผลไม้ที่ร่วงหล่นตา

ขนแกะ (fleece)

รูปภาพ
ขนแกะ  (fleece) ขนแกะเป็นผลิตหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ได้จากการเลี้ยงแกะ โดยแบ่งขนแกะออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ 1. ขนแกะเส้นใยละเอียด หรือเรียกว่า วูล (wool) เป็นขนแกะที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด 2. ขนแกะเส้นใยหยาบ หรือเรียกว่า แฮร์ (hair) หรือ เคมพ์ (kemp) ลักษณะเด่นของขนแกะเส้นใยละเอียด  (wool) 1. มีรูพรุนสูง สามารถดูดซับความชื้นได้ดีกว่าเส้นใยชนิดอื่น และสารถดูดซับความชื้นได้มากถึงร้อยละ 18 ของน้ำหนักเส้นใย 2. มีคุณสมบัติในการกันความร้อน และกันความหนาวเย็นได้ดี 3. มีน้ำหนักเบา 4. มีคุณสมบัติที่ยืดหยุ่นได้ดี สามารถยืดตัวได้ถุงร้อยละ 30 ของความยาวเส้นใยปกติ และสามารถคืนกลับเป็นเส้นใยได้ปกติ ไม่เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม รวมถึงทนต่อการหักพับหรือการยับย่น 5. ย้อมติดสีได้ง่าย สีย้อมที่ติดมีความคงทน เหมาะสำหรับการใช้ย้อมด้วยสีแอสิด (Acid Dyes) 6. มีความเหนียวสูงเทียบเท่าเหล็กกล้า 7. หากติดไฟจะไม่เกิดการลุกลาม และเมื่อนำห่างไฟก็จะดับได้ง่าย 8. มีความคงทน มีอายุการใช้งานยืนนาน 9. สามารถตีหรือทอเป็นเส้นได้ดี รวมถึงสามารถทอเป็นผืนได้ดี ทั้งนี้ ขนแกะสามารตัดได้ 1 ปี/ครั้ง แกะหนึ่งตัวที่หนักประ