ประวัติและรูปแบบการเลี้ยงแกะในประเทศไทย
ประวัติการเลี้ยงแกะในไทย
การเลี้ยงแกะในไทยมีบันทึกเริ่มเลี้ยงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 โดยคณะสอนศาสนาชุดหนึ่งที่ได้นำแกะพันธุ์ดอร์เซ็ท (Dorset) จำนวน 7 ตัว จากสหรัฐอเมริกาเข้ามาเลี้ยงที่จังหวัดเชียงใหม่ และต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้นำแกะพันธุ์ดอร์เซ็ทอีก จำนวน 6 ตัว จากประเทศออสเตรเลียเข้ามาเลี้ยงอีก จากนั้น ในปี พ.ศ. 2522 กรมปศุสัตว์ได้นำเข้าแกะพันธุ์ดอร์เซ็ทฮอร์น (Dorset Horn) มาทดลองเลี้ยง และนำเข้ามาเลี้ยงอีกในปี พ.ศ. 2532 ต่อจากนั้น เอกชนได้เริ่มนำเข้าแกะพันธุ์อื่นๆมาเลี้ยงเพิ่มขึ้น อาทิ นำเข้าแกะพันธุ์ซัฟฟอล์ค (Sufflok) ในปี พ.ศ. 2529 และพันธุ์โพลด์ดอร์เซ็ท (Polled Dorset) ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้น จากนั้น แกะจึงเริ่มแพร่กระจาย และเลี้ยงมากขึ้นในหลายจังหวัด
การเลี้ยงแกะในไทยมีบันทึกเริ่มเลี้ยงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 โดยคณะสอนศาสนาชุดหนึ่งที่ได้นำแกะพันธุ์ดอร์เซ็ท (Dorset) จำนวน 7 ตัว จากสหรัฐอเมริกาเข้ามาเลี้ยงที่จังหวัดเชียงใหม่ และต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้นำแกะพันธุ์ดอร์เซ็ทอีก จำนวน 6 ตัว จากประเทศออสเตรเลียเข้ามาเลี้ยงอีก จากนั้น ในปี พ.ศ. 2522 กรมปศุสัตว์ได้นำเข้าแกะพันธุ์ดอร์เซ็ทฮอร์น (Dorset Horn) มาทดลองเลี้ยง และนำเข้ามาเลี้ยงอีกในปี พ.ศ. 2532 ต่อจากนั้น เอกชนได้เริ่มนำเข้าแกะพันธุ์อื่นๆมาเลี้ยงเพิ่มขึ้น อาทิ นำเข้าแกะพันธุ์ซัฟฟอล์ค (Sufflok) ในปี พ.ศ. 2529 และพันธุ์โพลด์ดอร์เซ็ท (Polled Dorset) ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้น จากนั้น แกะจึงเริ่มแพร่กระจาย และเลี้ยงมากขึ้นในหลายจังหวัด
รูปแบบการเลี้ยงแกะ
1. การปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ
การปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ เกษตรกรมักเลี้ยงเพียงไม่กี่ตัว เพราะเลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อภายในครัวเรือนเป็นหลัก โดยการปล่อยแกะให้ออกหาอาหารในสวนผลไม้ของตนเองหรือตามพื้นที่รกร้างต่างๆ ซึ่งแกะจะได้รับอาหารตามธรรมชาติ นอกจากนั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อยยังมีการให้อาหารอื่นเสริม ได้แก่ มันเส้น เศษผัก เป็นต้น
1. การปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ
การปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ เกษตรกรมักเลี้ยงเพียงไม่กี่ตัว เพราะเลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อภายในครัวเรือนเป็นหลัก โดยการปล่อยแกะให้ออกหาอาหารในสวนผลไม้ของตนเองหรือตามพื้นที่รกร้างต่างๆ ซึ่งแกะจะได้รับอาหารตามธรรมชาติ นอกจากนั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อยยังมีการให้อาหารอื่นเสริม ได้แก่ มันเส้น เศษผัก เป็นต้น
2. การเลี้ยงในระบบฟาร์มแบบแปลงหญ้า
เป็นระบบการเลี้ยงที่พบมากในต่างๆประเทศ โดยการเลี้ยงแกะจำนวนมาก เพื่อการจำหน่ายเนื้อ และขน การเลี้ยงรูปแบบนี้จำเป็นต้องมีแปลงหญ้าสำหรับให้แกะแทะเล็มหญ้า ซึ่งอาจเป็นแปลงหญ้าของตนเองหรือพื้นที่ลาดเชิงเขาที่เป็นทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ โดยมีคนเฝ้าระวัง และดูแลแกะโดยตลอด ทั้งนี้ การเลี้ยงแกะตามที่ลาดเชิงเขาที่เป็นทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ เกษตรกรจะปล่อยเลี้ยงแกะเป็นช่วงฤดูกาล แล้วค่อยต้อนแกะเข้าโรงเรือน ส่วนการเลี้ยงแกะในแปลงหญ้าตนเอง จะปล่อยเลี้ยงแกะในช่วงกลางวัน แล้วต้อนแกะเข้าโรงเรือนในช่วงเย็น
เป็นระบบการเลี้ยงที่พบมากในต่างๆประเทศ โดยการเลี้ยงแกะจำนวนมาก เพื่อการจำหน่ายเนื้อ และขน การเลี้ยงรูปแบบนี้จำเป็นต้องมีแปลงหญ้าสำหรับให้แกะแทะเล็มหญ้า ซึ่งอาจเป็นแปลงหญ้าของตนเองหรือพื้นที่ลาดเชิงเขาที่เป็นทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ โดยมีคนเฝ้าระวัง และดูแลแกะโดยตลอด ทั้งนี้ การเลี้ยงแกะตามที่ลาดเชิงเขาที่เป็นทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ เกษตรกรจะปล่อยเลี้ยงแกะเป็นช่วงฤดูกาล แล้วค่อยต้อนแกะเข้าโรงเรือน ส่วนการเลี้ยงแกะในแปลงหญ้าตนเอง จะปล่อยเลี้ยงแกะในช่วงกลางวัน แล้วต้อนแกะเข้าโรงเรือนในช่วงเย็น
3. การเลี้ยงในระบบฟาร์มแบบกักขัง
การเลี้ยงในระบบฟาร์มแบบกักขัง เป็นการเลี้ยงแกะจำนวนมากเพื่อจำหน่ายเนื้อหรือการขายขนแกะ โดยแกะจะเลี้ยงภายในโรงเรือนตลอด ส่วนอาหารเกษตรกรจะคอยหามาให้ ทั้งการหาหญ้าจากที่สาธารณะหรือแปลงหญ้าที่ปลูกไว้ อาทิ หญ้าขน หญ้าเนเปียร์ เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องการจัดการแปลงหญ้าร่วมด้วย นอกจากหญ้าสดแล้ว ในระบบฟาร์มยังเสริมด้วยอาหารอื่น อาทิ มันเส้น ข้าวโพดบด และหญ้าหมัก เป็นต้น รวมไปถึงเกลือแร่ร่วมด้วย
การเลี้ยงในระบบฟาร์มแบบกักขัง เป็นการเลี้ยงแกะจำนวนมากเพื่อจำหน่ายเนื้อหรือการขายขนแกะ โดยแกะจะเลี้ยงภายในโรงเรือนตลอด ส่วนอาหารเกษตรกรจะคอยหามาให้ ทั้งการหาหญ้าจากที่สาธารณะหรือแปลงหญ้าที่ปลูกไว้ อาทิ หญ้าขน หญ้าเนเปียร์ เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องการจัดการแปลงหญ้าร่วมด้วย นอกจากหญ้าสดแล้ว ในระบบฟาร์มยังเสริมด้วยอาหารอื่น อาทิ มันเส้น ข้าวโพดบด และหญ้าหมัก เป็นต้น รวมไปถึงเกลือแร่ร่วมด้วย
ที่มา:ปศุสัตว์.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น