บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2018

Bangchang Sheep Farm

รูปภาพ

พฤติกรรมที่แตกแต่างระหว่างแกะกับแพะและการทำนายอายุแกะ

รูปภาพ
พฤติกรรมที่แตกต่างระหว่างแพะกับแกะ 1. แพะฉลาดกว่าแกะ แพะสู้ศัตรู แต่แกะขี้ขลาด และมักอยู่รวมกันเป็นฝูง 2. แพะ ปีน กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง ขุดดินมุดรั้วได้ แต่แกะทำไม่ได้ 3. แพะอยู่ในพื้นที่อากาศชุ่มชื้น ร้อนได้ดีกว่าแกะ 4. แพะปีนกินใบไม้ เปลือกไม้ได้ แต่กินต้องกินอาหารตามพื้นที่โล่งอย่างทุ่งหญ้าเท่านั้น 5. พ่อพันธุ์แพะจะดึงดูดความสนใจจากตัวเมีย โดยการปัสสาวะราดที่ขาหน้า ท้อง อก และเครา แต่แกะมีกลิ่นตัวฉุนแรงขึ้นในระยะผสมพันธุ์ การทำนายอายุจากการดูฟันหน้าล่างของแกะ กรณีที่แกะที่เราซื้อมาเลี้ยงไม่มีประวัติต่าง ๆ ให้เราตรวจสอบใด ๆ สามารถดูได้จากฟันหน้าด้านล่างของแกะ ซึ่งจะมี 8 ซี่(4 คู่) – ฟันน้ำนมอายุน้อยกว่า 1 ปี     ฟันแท้ 1 คู่ อายุ 1-2 ปี – ฟันแท้ 2 คู่ อายุ 2-3 ปี           ฟันแท้ 3 คู่ อายุ 3-4 ปี – ฟันแท้ 4 คู่ อายุ 4-5 ปี           ฟันแท้เริ่มสึก อายุมากกว่า 5 ปี ที่มา: http://www.animals-farm.com

การคัดเลือกแกะและหลักการผสมพันธุ์แกะ

การคัดเลือกแกะที่มีลักษณะดีไว้ทำพันธุ์ – พ่อพันธุ์ คือ หลังเป็นเส้นตรง หน้าอกลึกกว้าง ส้นเท้าสูง อัณฑะปกติ ขาตรงแข็งแรง – แม่พันธุ์ คือ หลังเป็นเส้นตรง เต้านมเท่ากัน ขาตรงแข็งแรง การคัดลักษณะที่ไม่ดีออกจากฝูง – ขากรรไกรบนล่างไม่สม่ำเสมอ – ตาบอด – ขาโค้งงอ – ปลายเขาโค้งแทงคอ – อัณฑะใบเดียว – ส้นเท้าไม่สูง – เต้านมแฟบ หลักการผสมพันธุ์แกะ 1. ห้ามนำพ่อแม่มาผสมกับลูกของมันเอง 2. ห้ามนำลูกที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกันมาผสมกันเอง 3. พ่อแม่พันธุ์คัดเลือกจากแกะที่มีความสมบูรณ์พันธุ์ มีการเจริญเติบโตดี มีประวัติการให้ลูกแฝดสูง 4. การจัดการด้านอาหารแกะ ที่มา: http://www.animals-farm.com

การเตรียมตัวแม่พันธุ์ก่อนคลอดลูกและสาเหตุที่ทำให้เกิดการคลอดลูกยาก

รูปภาพ
การเตรียมตัวก่อนแม่พันธุ์คลอดลูกแกะ 1. เตรียมที่ตัดสายสะดือ และทิงเจอร์ไอโอดีนสำหรับทาแผล 2. เตรียมพื้นคอกที่สะอาด ไม่ชื้นแฉะ 3. พื้นคอกต้องมีระแนงไม่ห่างเกิน 1.3 ซม. 4. ควรมีฟางแห้งรองพื้น เพื่อเพิ่มความอบอุ่นในช่วงอากาศหนาว ตอนกลางคืนและมีไฟกกลูกแกะด้วย 5. เตรียมตัวสำหรับท่าคลอดลูกที่ปกติ คือ ถ้าการคลอดปกติลูกจะเอาเท้าหน้าทั้ง 2 ข้างออก หรือเท้าหลังทั้ง 2 ข้างออก 6. ท่าคลอดลูกที่ผิดปกติ เอาเท้าออกข้างเดียวอีกข้างพับอยู่ด้านใน อาจทำให้มีปัญหาการคลอดยาก รกควรออกมาภายใน 4-12 ชั่วโมง และลูกควรออกจากท้องแม่ภายในเวลา 5-15 นาที หรือภายใน 1 ชั่วโมง หลังคลอดแล้วควรเช็ดตัวลูกแกะให้แห้ง แล้วจึงตัดสายสะดือและทาทิงเจอร์ไอโอดีนเพื่อฆ่าเชื้อ สาเหตุที่ทำให้แกะเกิดการคลอดลูกยาก – แม่ไม่สมบูรณ์ อ่อนแอ – แม่มีกระดูกเชิงกรานแคบเกินไป – ลูกตัวใหญ่เกินไป – ลูกตายในท้องแม่ – คลอดท่าผิดปกติ ที่มา: http://www.animals-farm.com

การจัดการเลี้ยงดูแกะ

รูปภาพ
การจัดการเลี้ยงดูแกะ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นช่วง ๆ ดังนี้ – ช่วงวัยเจริญพันธุ์(ระยะการเป็นสัด) 1. แกะเริ่มเข้าสู่ช่วงเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3-4 เดือน ตัวเมียจะยอมให้ตัวผู้ทับแต่ควรแยกเลี้ยงไว้ก่อนและทำการผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ 8 เดือน จะได้ความสมบูรณ์มากกว่า – ลักษณะการเป็นสัดของแม่แกะ 1. อวัยวะเพศบวมแดง อุ่นและชุ่มชื้น 2. ไม่อยากอาหาร กระวนกระวาย ไม่เป็นสุข 3. ยืนนิ่งเงียบเมื่อมีตัวผู้เข้ามายืนใกล้ ๆ 4. กระดิกหางบ่อยขึ้นกว่าเดิม – ช่วงการผสมพันธุ์ 1. เมื่อถึงช่วงการเป็นสัดแล้ว ระยะเวลาที่เหมาะสมให้ตัวผู้ขึ้นทับคือ 12-18 ชั่วโมง หลังจากมีอาการเป็นสัด – อัตราการผสมพันธุ์ 1. พ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 10-15 ตัว 2. พ่ออายุ 2 ปีขึ้นไป 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 20-30 ตัว ข้อแนะนำคือ 1. ไม่ควรนำพ่อผสมกับลูกตัวเมีย หรือลูกตัวผู้ผสมกับแม่ เพราะจะทำให้ลูกที่เกิดส่วนใหญ่ตัวเล็ก ไม่สมบูรณ์หรือพิการได้ 2. ควรคัดแม่ที่ผสมไม่ติดจำนวน 2 ครั้งออกไป 3. ควรแยกเลี้ยงแม่ท้องแก่ และแม่เลี้ยงลูกไว้ในคอกต่างหาก เพื่อกันอันตรายจากตัวอื่น 4. ควรสับเปลี่ยนพ่อพันธุ์ตัวใหม่ ๆ ทุก 12 เดือน (และหรือยืมระห

โรงเรือนเลี้ยงแกะและนิสัยการกินอาหารของแกะ

รูปภาพ
โรงเรือนเลี้ยงแกะ ควรทำคอกให้มีหลังคากันแดดฝน ยกพื้นสูง เพื่อง่ายต่อการทำความสะอาด มีที่ใส่น้ำและรางอาหารเพียงพอสำหรับจำนวนแกะทั้งหมด มีคอกแยกสำหรับ แกะโตแกะเล็ก แม่แกะอุ้มท้อง แม่แกะเลี้ยงลูก พื้นคอก ทำเป็นไม้ระแนงมีความห่างราว 1.5 ซม. แกะเล็ก 1.3 ซม. เพื่อให้มูลและปัสสาวะตกลงไปด้านล่างได้สะดวก ไม่สะสมเชื้อโรคและก่อให้เกิดโรคพยาธิ รูปแบบการทำความสะอาดพื้นคอก พื้นดินเทปูนลาดเอียง ทำความสะอาดง่าย หรือใช้แผ่นพลาสติกรองรับ ลงถังปัสสาวะเพิ่มปุ๋ยยูเรีย การทำความสะอาดโรงเรือนเลี้ยงแกะ – ใต้พื้นคอกตักมูลไปขาย หรือทำปุ๋ย – กวาดมูลและเศษหญ้า เพื่อให้พื้นคอกแห้งและสะอาด – รั้วกั้นแปลงหญ้าอาจจะทำจากวัสดุเหลือใช้ เช่น ไม้รวก หรืออวนจับปลา ซึ่งมีราคาถูก อุปกรณ์ ควรมีมีดหรืออุปกรณ์ตัดแต่งกีบ เพื่อใช้ตัดแต่งกีบเดือนละครั้ง ช่วยป้องกันโรคกีบเน่า ช่วยเขี่ยสิ่งสกปรกตามซอกออก หรือตัดส่วนที่งอกหรือเกินออกไป นิสัยการกินอาหารของแกะ แกะสามารถกินหญ้าได้หลายชนิด และควรปล่อยแกะแทะเล็มหญ้าที่มีความสูงประมาณ 4.8 นิ้ว แกะสามารถเลี้ยงในสวนยางและสวนผลไม้เพื่อช่วยกำจัดวัชพืช หรือช่วยกินผลไม้ที่ร่วงหล่นตา

ขนแกะ (fleece)

รูปภาพ
ขนแกะ  (fleece) ขนแกะเป็นผลิตหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ได้จากการเลี้ยงแกะ โดยแบ่งขนแกะออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ 1. ขนแกะเส้นใยละเอียด หรือเรียกว่า วูล (wool) เป็นขนแกะที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด 2. ขนแกะเส้นใยหยาบ หรือเรียกว่า แฮร์ (hair) หรือ เคมพ์ (kemp) ลักษณะเด่นของขนแกะเส้นใยละเอียด  (wool) 1. มีรูพรุนสูง สามารถดูดซับความชื้นได้ดีกว่าเส้นใยชนิดอื่น และสารถดูดซับความชื้นได้มากถึงร้อยละ 18 ของน้ำหนักเส้นใย 2. มีคุณสมบัติในการกันความร้อน และกันความหนาวเย็นได้ดี 3. มีน้ำหนักเบา 4. มีคุณสมบัติที่ยืดหยุ่นได้ดี สามารถยืดตัวได้ถุงร้อยละ 30 ของความยาวเส้นใยปกติ และสามารถคืนกลับเป็นเส้นใยได้ปกติ ไม่เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม รวมถึงทนต่อการหักพับหรือการยับย่น 5. ย้อมติดสีได้ง่าย สีย้อมที่ติดมีความคงทน เหมาะสำหรับการใช้ย้อมด้วยสีแอสิด (Acid Dyes) 6. มีความเหนียวสูงเทียบเท่าเหล็กกล้า 7. หากติดไฟจะไม่เกิดการลุกลาม และเมื่อนำห่างไฟก็จะดับได้ง่าย 8. มีความคงทน มีอายุการใช้งานยืนนาน 9. สามารถตีหรือทอเป็นเส้นได้ดี รวมถึงสามารถทอเป็นผืนได้ดี ทั้งนี้ ขนแกะสามารตัดได้ 1 ปี/ครั้ง แกะหนึ่งตัวที่หนักประ

การเลี้ยงแกะ

การเลี้ยงแกะ การเลี้ยงแกะส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์รับประทานเนื้อ และเก็บขนสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า โดยประเทศที่เลี้ยงแกะมาก ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน รัชเชีย นิวซีแลนด์ อินเดีย อาเจนติน่า อัฟกานิสถาน ตุรกี และสหรัฐอเมริกา ส่วนการเลี้ยงแกะในประเทศพบได้ในบางจังหวัด จังหวัดที่เลี้ยงมาก ได้แก่ กาญจนบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ เชียงใหม่ และนครปฐม เป็นต้น สำหรับประเทศไทยยังมีการเลี้ยงอยู่ในวงจำกัด พบการเลี้ยงในรูปแบบฟาร์มขนาดใหญ่ไม่กี่แห่ง และพบการเลี้ยงเป็นแหล่งอาหารในครัวเรือน ครัวเรือนละ 2-3 ตัว สำหรับการให้เนื้อบริโภค โดยแกะที่เลี้ยงในครัวเรือนส่วนมากจะเป็นแกะพันธุ์พื้นเมืองที่มีขนาดเล็ก (น้ำหนัก 20 – 30 กิโลกรัม) ลักษณะการเลี้ยงเป็นแบบผูกล่ามหรือปล่อยให้กินหญ้าในบริเวณบ้าน ในสวนผลไม้ สวนปาล์ม และที่สาธารณะต่างๆ โดยให้อาหารอื่นร่วมด้วย อาทิ วัสดุเศษเหลือจากการเกษตร ไม่มีการให้อาหารข้นหรือเสริมแร่ธาตุ พันธุ์แกะที่กรมปศุสัตว์ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยง  ได้แก่ 1. พันธุ์คาทาดิน แกะพันธุ์นี้ เป็นแกะเนื้อที่ปรับตัวเข้ากับสภาพพื้นที่ต่างๆได้ดี กินหญ้าได้หลายชนิด สามารถปล่อยเลี้ยงตามทุ่งหญ้าในที่ต่

ประวัติและรูปแบบการเลี้ยงแกะในประเทศไทย

รูปภาพ
ประวัติการเลี้ยงแกะในไทย การเลี้ยงแกะในไทยมีบันทึกเริ่มเลี้ยงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 โดยคณะสอนศาสนาชุดหนึ่งที่ได้นำแกะพันธุ์ดอร์เซ็ท (Dorset) จำนวน 7 ตัว จากสหรัฐอเมริกาเข้ามาเลี้ยงที่จังหวัดเชียงใหม่ และต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้นำแกะพันธุ์ดอร์เซ็ทอีก จำนวน 6 ตัว จากประเทศออสเตรเลียเข้ามาเลี้ยงอีก จากนั้น ในปี พ.ศ. 2522 กรมปศุสัตว์ได้นำเข้าแกะพันธุ์ดอร์เซ็ทฮอร์น (Dorset Horn) มาทดลองเลี้ยง และนำเข้ามาเลี้ยงอีกในปี พ.ศ. 2532 ต่อจากนั้น เอกชนได้เริ่มนำเข้าแกะพันธุ์อื่นๆมาเลี้ยงเพิ่มขึ้น อาทิ นำเข้าแกะพันธุ์ซัฟฟอล์ค (Sufflok) ในปี พ.ศ. 2529 และพันธุ์โพลด์ดอร์เซ็ท (Polled Dorset) ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้น จากนั้น แกะจึงเริ่มแพร่กระจาย และเลี้ยงมากขึ้นในหลายจังหวัด  รูปแบบการเลี้ยงแกะ 1. การปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ การปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ เกษตรกรมักเลี้ยงเพียงไม่กี่ตัว เพราะเลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อภายในครัวเรือนเป็นหลัก โดยการปล่อยแกะให้ออกหาอาหารในสวนผลไม้ของตนเองหรือตามพื้นที่รกร้างต่างๆ ซึ่งแกะจะได้รับอาหารตามธรรมชาติ นอกจากนั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อยยังมีการให้อาหารอื่นเสริม ได้แก่ มันเส้น เศ

ข้อดีและประโยชน์จากการเลี้ยงแกะ

รูปภาพ
แกะ  (sheep) เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กที่เลี้ยงเพื่อการบริโภคเนื้อ และการใช้ประโยชน์จากหนัง และขนแกะเป็นหลัก แต่เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สามารถให้ผลผลิตเร็วกว่าสัตว์เคี้ยวเอื้องอื่นๆอย่างโคหรือกระบือ  แกะมีอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ ซึ่งส่วนมากเป็นแกะพันธุ์พื้นเมืองที่มีขนาดเล็ก (น้ำหนัก 20-30 กก.) โดยเลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อเป็นหลัก และมีการเลี้ยงมากในภาคใต้ โดยเฉพาะชาวมุสลิม (ประมาณ 95%) ที่ใช้สำหรับบริโภคเนื้อ และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทั้งนี้ ส่วนมากจะพบการเลี้ยงแกะจำนวน 2-4 ตัว/ครอบครัว และนิยมเลี้ยงควบคู่กับแพะ ด้วยการเลี้ยงแบบผูกล่ามหรือปล่อยแทะเล็ม ข้อดี และประโยชน์จากการเลี้ยงแกะ 1. แกะ เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่เลี้ยงง่าย กินหญ้าได้หลายชนิด สามารถปล่อยเลี้ยงตามลานหญ้า สวนผลไม้หรือพื้นพื้นว่างเปล่าได้ดี ไม่จำเป็นต้องให้อาหารอื่นเสริม รวมถึงเป็นสัตว์ที่ทนต่อสภาพอากาศหนาวหรือร้อนได้ดี ไม่โรคน้อย ทำให้มีต้นทุนการเลี้ยงต่ำ 2. แกะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย เชื่อง ไม่ดุหรือทำอันตรายคนเลี้ยง 3. แกะช่วยแทะเล็มหญ้า กำจัดหญ้าไม่ให้ขึ้นรก 4. ขนแกะเป็นเส้นใยขนสัตว์ที่มีคุณภาพสูง นิยมทอเป็น

แกะสามสายพันธุ์ที่ประเทศไทยนิยมเลี้ยง

รูปภาพ
1.แกะพันธุ์ซานตาอินเนส (Santa ines)               เป็นแกะเนื้อ นำเข้าจากประเทศบราซิล ปี พ.ศ. 2540 ขนาดใหญ่ ใบหูยาวปรก  หน้าโค้งนูน มีหลายสี  น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.5 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 80-90 กก. ตัวเมีย 60 กก. 2.แกะพันธุ์คาทาดิน(katahdin)                   กรมปศุสัตว์ ได้รับการสนับสนุนพ่อพันธุ์นี้จากสถาบันวินร็อค ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปีพ.ศ. 2532 เป็นแกะเนื้อที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถเลี้ยงปล่อยตามทุ่งหญ้าธรรมชาติได้โดยไม่ต้องเสริมอาหารข้น สามารถผลัดขนได้เมื่ออากาศร้อน ทนพยาธิภายในมากกว่าแกะพันธุ์อื่น เนื้อแกะมีคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นสาบ  น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.0 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก.  โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 90 กก. ตัวเมีย 55-60 กก. 3.แกะพันธุ์ดอร์เปอร์ (Dorper)           เป็นแกะที่พัฒนาพันธุ์ ในช่วงปี ค.ศ. 1940 ในอัฟริกาใต้โดยการ ผสมข้ามพันธุ์ระหว่างแกะพันธุ์แบลคเฮด เปอร์เซียน (Blackhead Persian) และพันธุ์ดอร์เซทที่มีเขา (Dorset Horn)    กรมปศุสัตว์ นำเข้าจากประเทศแอฟริกาใต้  ในปีพ.ศ. 2539 เป็นแกะที่มีลักษณะเนื้อที่มีคุณภาพสูง สามา